วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

โฟม

"โฟม" คืออะไร "โฟม" เป็นคำที่รู้จักกันทั่วไปซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีความหมายกว้างมาก หากพิจารณาตามคำแปลหมายถึง "ฟู" โฟมในที่นี้หมายถึงพลาสติกที่ฟูหรือขยายตัว พลาสติกมากมายหลายประเภท และในบรรดาพลาสติกหลายประเภท ที่มีในโลกนั้น หากผ่านกระบวนการที่ใช้สารขยายตัว (Blowing Agent) ก็จะทำให้พลาสติกนั้นกลายเป็นโฟมได้ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Foam Plastic ตัวอย่างของโฟมพลาสติกที่รู้จักกันทั่วไป เช่น ฟองน้ำ กล่องโฟมใส่อาหาร โฟมแผ่น โฟมฉีดพ่นเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น ซึ่งโฟมพลาสติกเหล่านี้ล้วนแต่ผลิตจากพลาสติกแตกต่างประเภทกันไป
ในที่นี้จะหมายถึงโฟมที่ผลิตจากพลาสติกประเภท Polystyrene / PS เท่านั้น ซึ่งใช้ทำกล่องโฟมใส่อาหาร และ โฟมลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งโฟมพลาสติกประเภท Polystyrene / PS มี 2 ประเภทหลักคือ
1. Expandable Polystyrene / EPS ซึ่งใช้บรรจุสินค้ามีค่าต่างๆ เช่น โทรศัพท์ ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า และ หมวกกันน็อค โฟมกล่องน้ำแข็ง รวมถึงโฟมแผ่นและโฟมก้อนที่ใช้ทำถนนเป็นต้น
2. Polystyrene Paper / PSP ที่ใช้ทำถาดหรือกล่องโฟมบรรจุอาหาร
กระบวนการผลิตโฟมเป็นอย่างไร
1. Expandable Polystyrene / EPS คือโฟม PS ที่ใช้ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ ก๊าซหุงต้ม หรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent) ในระหว่างกระบวนการผลิตที่เรียกว่า Polymerization เนื้อพลาสติก PS จะทำปฎิกิริยา กักเก็บก๊าซ Pentane เอาไว้ภายใน เมื่อนำมาผลิตโฟม EPS วัตถุดิบจะขยายตัวเมื่อได้ความร้อนจากไอน้ำ (Steam) กลายเป็นเม็ดโฟมขาวๆ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูป (Molding) ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
- อัดขึ้นรูปเป็นรูปร่างต่างๆ ตามลักษณะแม่พิมพ์ที่ทำ (Shape Molding) เช่น เป็นกล่องน้ำแข็ง และบรรจุภัณฑ์ ต่างๆ
- อัดขึ้นรูปเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ( Block Molding) แล้วนำมาตัดตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ โดยทั่วไป โฟม EPS จะขยายตัวประมาณ 50เท่า และเมื่อขยายตัวแล้วจะมีอากาศเข้ามาแทนที่ถึง 98 % ของปริมาตร มีเพียง 2 % เท่านั้นที่เป็นเนื้อพลาสติก PS และนี่คือสาเหตุที่ทำให้โฟมมีขนาดใหญ่แต่กลับมีน้ำหนักเบา คุณลักษณะนี้เองที่ทำให้โฟม EPS สามารถรองรับแรงกระแทกได้อย่างดี เหมาะสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้า และยังรองรับการถ่ายเทน้ำหนักในแนวดิ่งโดยไม่เสียรูปทรง จึงสามารถใช้เป็นวัสดุในการทำถนน เพื่อแก้ปัญหาถนนทรุด และยังใช้เป็นฉนวนรักษาความร้อนและเย็น เนื่องจากอากาศที่มีอยู่ภายในถึง 98 % ทำหน้าที่เป็นฉนวนได้อย่างดี
2. Polystyrene Paper / PSP คือโฟม PS ที่ใช้ก๊าซหุงต้มหรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว วัตถุดิบที่ใช้ ก็คือเม็ดพลาสติก PS ทั่วไป ซึ่งเข้าสู่ระบบการฉีดโดยใช้สกรูซึ่งมีความร้อนจากไฟฟ้าเช่นเดียวกับ การฉีดพลาสติกทั่วไป
(Screw Extrusion) เมื่อเม็ดพลาสติก PS ผ่านสกรูความร้อนก็จะหลอมตัว ขณะที่จะออกจากปลายสกรูก็จะถูกฉีดก๊าซ Butane (C4H10) ซึ่งก็คือแก๊สหุงต้มที่ใช้ตามครัวเรือนผสมเข้าไปทำปฎิกิริยาให้พลาสติกที่กำลังหลอมนั้นเกิดการขยายตัวประมาณ 20 เท่า ฉีดออกเป็นแผ่นแล้วม้วนเข้าคล้ายม้วนกระดาษ (จึงเรียกว่า Polystyrene Paper / PSP) จากนั้นก็จะนำม้วนโฟม PSP ที่ได้ ไปขึ้นรูปด้วยความร้อนตามลักษณะแม่พิมพ์ (Thermal Forming) เช่นเป็นกล่องใส่อาหารหรือถาดเป็นต้น
ทำไมโฟม EPS ถึงไม่ใช้สาร CFCs
สำหรับโฟม EPS นั้นเนื่องจากสาร CFCs มีจุดระเหยต่ำจึงยากต่อการกักเก็บไว้ในเม็ดวัตถุดิบ โฟม EPS จึงไม่เคย ใช้สาร CFCs เลย ตั้งแต่บริษัท BASF ของเยอรมันคิดค้นโฟม EPS ขึ้นมาเมื่อราวปี ค.ศ. 1950 สำหรับโฟม PSP นั้น การใช้ สาร CFCs ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซหุงต้มทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงกว่า ผู้ผลิตจึงหลีกเลี่ยงไม่ใช้

อุตสาหกรรมโฟม PS ในมืองไทย
อุตสาหกรรมโฟม PS ในเมืองไทยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากการผลิตโฟม EPS ประเภทก้อนสี่เหลี่ยม (Block Molding) เพื่อใช้ทำผนังห้องเย็น (Cold Storage Panel) ต่อมาเมื่ออุตสาหกรรมในประเทศเริ่มเติบโตขึ้น การใช้โฟม EPS เพื่อบรรจุสินค้า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์เพื่อการส่งออกจึงเริ่มขึ้นในราวปี พ.ศ. 2520 ต่อมาได้มีการใช้โฟม EPS ในการก่อสร้างอาคาร คอสะพาน และถนนอีกด้วย ปัจจุบัน มีผู้ผลิตวัตถุดิบ EPS ในประเทศ 5 ราย และผู้ผลิตโฟม EPS ประมาณ 25 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีกำลังการผลิตโดยรวมประมาณ 2,800-3,000 ตันต่อเดือน
โฟม EPS ที่ผลิตส่วนใหญ่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิคส์เพื่อการส่งออกเป็นหลัก นอกจากนั้นกล่องโฟมที่ผลิตจากโฟม EPS ยังใช้สำหรับบรรจุอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อส่งออกเช่นกัน สำหรับโฟม PSP นั้น เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา มีผู้ผลิตวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก PS) ในประเทศ 5 ราย และ ผู้ผลิตโฟม PSP 10 ราย ซึ่งมีเพียงรายเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ กำลังการผลิตโดยรวมในปัจจุบันประมาณ 1,300-1,500 ตัน ต่อเดือน โฟม PSP จะผลิตเป็นถาดหรือกล่องสำหรับใส่อาหารเป็นหลัก ซึ่งมีสัดส่วนในการส่งออกประมาณ 30%

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ความคาดหวังก่อนเรียน cd 493

ก่อนที่จะเลือกเรียนวิชานี้ก็ได้ไปปรึกษากับอาจารย์ก่อนที่จะเลือกเรียน อาจารย์บอกมาว่าวิชานี้เป็นวิชาที่จะทำให้เราเข้าใจที่มาที่ไปของตัวงาน
รู้กระบวนการคิดผลงานต่างๆ ก็เลยตัดสินใจเลือกเรียนวิชานี้ เพราะปกติเวาลาเราคิดงานหรือเวาลาได้โจทย์งานมาก็จะคิดแบบด้านเดียวเราจะ
มองถึงภาพจบก่อนว่าเราอยากจะทำอะไรแล้วค่อยคิดกระบวนการทำงานเพื่อให้งานออกมาเป็นตามที่คิดไว้ในตอนแรก ทำให้งานที่ออกมาดูเบา
ไม่มีน้ำหนักเพราะข้อมูลน้อย บางครั้งก็ทำให้เนื้องานไม่สามารถตอบโจทย์ได้ดี
ก็คาดว่าเรียนวิชานี้แล้วจะทำให้รู้ถึงกระบวนการ ขั้นตอนการคิดงานเพื่อที่จะให้สร้างงานที่ดีได้ และวิชานี้น่าจะทำให้เรารู้จักหาข้อมูลต่างๆมองสิ่ง

ต่างๆรอบๆตัวเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการทำงานของเรา ทำให้มุมมองการทำงานของเรากว้างขึ้น การคิดงานง่ายขึ้น วิชานี้น่าจะทำให้เราเข้า
ใจในงานของศิลปินต่างๆที่ต้องการจะสื่อสารมากขึ้นไม่ใช่ว่าแค่ดูแล้วสวย และน่าจะทำให้เราสามารถสื่อสารตัวงานให้คนที่ไม่ได้เรียนทางออกแบบ
หรือคนทั่วๆไปเข้าใจในงานออกแบมากขึ้นด้วย