วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ข้อสอบเพื่อวัดกระบวนการการเรียนรู้และความเข้าใจ

ข้อสอบเพื่อวัดกระบวนการการเรียนรู้และความเข้าใจ
ข้อสอบนี้จะถูกปลดลงในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๐
เวลา ๐๑ :๐๐ นาฬิกา (หลังเที่ยงคืนวันเสาร์ที่ ๒๔)

CD 493 C Understanding Design & Concept
วิชาความเข้าใจในแกนความคิดและศิลปะการนำเสนอ

คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๐
อาจารย์ อนุทิน วงศ์สรรคกร

ข้อสอบแบบนำกลับไปทำที่บ้าน (Take Home Exam)
คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน

นักศึกษาสามารถเลือกตอบ จัดตั้งคะแนนเต็มของตนเองได้ เพื่อเป็นคะแนนสำรอง แต่คะแนนเต็มที่นักศึกษาได้จริงจะไม่เกิน ๑๐๐ คะแนน คะแนนจากการสอบครั้งนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๕๐ ของคะแนนรวมปลายภาค ซึ่งจะนำไปรวมกับคะแนนร้อยละ ๓๐ จากงานแบบร่างสถาปัตยกรรมทางความคิด และคะแนนร้อยละ ๒๐ จากการเข้าเรียนและจิตพิสัย
นักศึกษาจำเป็นต้องส่งแบบทดสอบนี้โดยโพสไว้ในเวปบล๊อคของตนเองภายในไม่เกินเที่ยงวันของวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ คำตอบจะถูกพิมพ์ออกมาเพื่อตรวจ การเปลี่ยนแปลงคำตอบโดยการอัพเดทเวปบล๊อคหลังจากเวลาดังกล่าวไม่มีผลต่อการแก้ไขคำตอบเดิม นักศึกษาต้องรับผิดชอบตนเองในการส่งลิ้งค์ไปสู่เวปบล๊อคของตนเองมาให้เพื่อการตรวจคะแนน จะไม่มีการสืบหาเวปบล๊อค
ของนักศึกษาเพื่อการตรวจคะแนน

หมายเหตุ / กรุณาตอบให้สั้นกระชับและได้ใจความ การตอบแบบปริมาณไม่มีส่วนในการได้รับคะแนนพิเศษกลุ่มคำถามเกี่ยวกับความเข้าใจ

จงเลือกตอบคำถามเพียง ๕ ข้อจากกลุ่มคำถามต่อไปนี้คะแนนเต็มในหมวดคำถามนี้คือ ๕๐ คะแนน

คำถามข้อที่ ๑ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
หากนักศึกษาจำเป็นที่จะต้องอธิบายให้กับบุคคลทั่วไปเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคอนเซ็ปท์และไอเดีย นักศึกษาจะมีวิธีการอย่างไรในการอธิบายอย่างกระชับและแยบยล เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ และถูกต้อง

คำถามข้อที่ ๒คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
จงอธิบายและให้คำจำกัดความของการเปลี่ยนแปลงสถานะของคอนเซ็ปท์ ยกตัวอย่างที่สามารถเสนอการนำไปใช้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม โดยใช้หลักการที่ได้เรียนรู้จากการบรรยายในวิชานี้ตอบคำถามอย่างเป็นเหตุและผล

คำถามข้อที่ ๓คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
ศิลปะและการออกแบบมีข้อแตกต่างกันอย่างไร จากเหตุผลส่วนตัวของนักศึกษา งานฝีมือนับว่าเป็นงานออกแบบได้หรือไม่

คำถามข้อที่ ๔คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
ไอคอน (Icon) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร กรุณาอธิบายให้ง่ายและกระชับสำหรับผู้ที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้มาก่อน

คำถามข้อที่ ๕คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
แรงบันดาลใจกับจินตนาการเกี่ยวข้องกันในลักษณะใด

คำถามข้อที่ ๖คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
จงอธิบายความหมายของ signify ให้สามารถเข้าใจได้ครอบคลุมในทั้งมิติของความหมายทางกายภาพของคำ และมิติของการบรรจุของแกนความคิด ควรยกตัวอย่างประกอบมากกว่าหนึ่งเพื่อความชัดเจนว่านักศึกษามีความเข้าใจที่ถูกต้อง

คำถามข้อที่ ๗คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
ในกรณีที่คอนเซ็ปท์ในงานออกแบบบางชิ้นเป็นแกนแข็งแรงและนิ่งอยู่แล้ว จะส่งผลอย่างไรกับไอเดีย ยกตัวอย่างประกอบเพื่อแสดงความเข้าใจ ต้องการตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบระหว่างงานออกแบบที่แกนนิ่ง และงานออกแบบที่แกนคอนเซ็ปท์ยังคงสามารถปรับกับไอเดียได้อยู่ตลอดเวลา

กลุ่มคำถามเชิงวิเคราะห์ และสังเคราะห์
จงเลือกตอบคำถามเพียง ๓ ข้อจากกลุ่มคำถามต่อไปนี้
คะแนนเต็มในหมวดคำถามนี้คือ ๕๐ คะแนน

คำถามข้อที่ ๑คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
จงอธิบายความแตกต่างระหว่างคอนเซ็ปท์ของตู้กับข้าวและตู้เย็น ทั้งสองอยู่บนคอนเซ็ปท์เดียวกันหรือไม่ หากนักศึกษาคิดว่าทั้งสองสิ่งอยู่บนคอนเซ็ปท์เดียวกัน กรุณาแจกแจงเหตุและผลอย่างเป็นขั้นตอน

คำถามข้อที่ ๒คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่กับคำพูดที่ว่า "จินตนาการที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น มาจากจินตนาการของคนเพียงกลุ่มเล็กๆที่มีอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ" โปรดแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ และสังเคราะห์

คำถามข้อที่ ๓คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์จากระบบแอนนาลอคมาสู่ระบบดิจิตอล มีข้อสังเกตุที่น่าสนใจอย่างไร? ตอบโดยใช้ฐานความรู้เรื่องคอนเซ็ปท์ และไอเดีย ที่ได้เรียนจากห้องเรียนมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันที่ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมีผลต่อการออกแบบเพื่อการสื่อสาร (Communication Design) อย่างไร ?

คำถามข้อที่ ๔คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
จงเปรียบเทียบระหว่างการพูดและการเขียน (Speech VS Writing) อธิบายด้วยความเข้าใจจากองค์ประกอบต่างๆที่ได้จากการเรียนในวิชานี้

คำถามข้อที่ ๕คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
กรุณาแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสังเคราะห์ข้อมูลจากประสบการณ์ของคนทั่วไป เกี่ยวกับปุ่มกดเปิดเครื่องและปุ่มอื่นๆบนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่ นักศึกษาจำเป็นต้องมีข้อมูลจริงในการสนับสนุน เช่นการตั้งชุดคำถามต่อผู้ใช้ทั่วไปเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์และนำมาสู่การสังเคราะห์ กรุณาตอบให้สั้นกระชับได้ใจความ แนะนำว่าอาจตอบเป็นลักษณะของการเขียนเรียงความสั้นๆ

ไม่มีความคิดเห็น: