วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

ส่ง take home exam

คำถามข้อที่ ๑ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน

หากนักศึกษาจำเป็นที่จะต้องอธิบายให้กับบุคคลทั่วไปเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคอนเซ็ปท์และไอเดีย นักศึกษาจะมีวิธีการอย่างไรในการอธิบายอย่างกระชับและแยบยล เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ และถูกต้อง

concept คือ ขั้นตอนการคิดที่เป็นนามธรรมไม่สามารถจับต้องได้
idea คือ สิ่งที่สามรถนำเสนอถึง concept นั้นๆได้ เพราะ idea มี shape และ form
เช่น ถ้าพูดถึงเรื่องขวดน้ำ concept ของขวดน้ำคือ ภาชนะสำหรับบรรจุของเหลว ส่วนตัวของขวดน้ำถือว่าเป็น idea

คำถามข้อที่ ๒คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน

จงอธิบายและให้คำจำกัดความของการเปลี่ยนแปลงสถานะของคอนเซ็ปท์ ยกตัวอย่างที่สามารถเสนอการนำไปใช้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม โดยใช้หลักการที่ได้เรียนรู้จากการบรรยายในวิชานี้ตอบคำถามอย่างเป็นเหตุและผล

การเปลี่ยนแปลงสถานะของคอนเซ็ปท์ คือการกลับค่าวิธีนำเสนอโดยการนำ idea ไปประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนสถานะของ concept การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดคอนเซ็ปท์ โดยที่ idea ยังคงเดิม
เช่น นำจานที่เรากินข้าวมาติดรูปทำเป็นกรอปรูปไว้ตกแต่ง
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าได้มีการเปลียน concept ของจานกินข้าวซึ่งเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหาร มาเป็นของตกแต่ง

คำถามข้อที่ ๓คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน

ศิลปะและการออกแบบมีข้อแตกต่างกันอย่างไร จากเหตุผลส่วนตัวของนักศึกษา งานฝีมือนับว่าเป็นงานออกแบบได้หรือไม่

ศิลปะและการออกแบบต่างกันที่จุดประสงค์
ศิลปะเป็นงานที่สร้างขึ้นมาเพือสนองตัวเองเป็น one way communicate ส่วนการออกแบบเป็นงานที่สร้างขึ้นมาแล้วต้องมีการ communicate กับผู้อื่นส่วนงานฝีมือนับว่าเป็นงานออกแบบได้ถ้างานชิ้นนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต้องการที่จะเผยแพร่และมีจุดประสงค์เกี่ยวข้องกับเรื่องของ business


คำถามข้อที่ ๕คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
แรงบันดาลใจกับจินตนาการเกี่ยวข้องกันในลักษณะใด

จินตนาการสามารถทำให้เกิดการขยายกรอบความคิดเพื่อขับเคลื่อนแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งาน ใหม่ๆ

คำถามข้อที่ ๗คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน

ในกรณีที่คอนเซ็ปท์ในงานออกแบบบางชิ้นเป็นแกนแข็งแรงและนิ่งอยู่แล้ว จะส่งผลอย่างไรกับไอเดีย ยกตัวอย่างประกอบเพื่อแสดงความเข้าใจ ต้องการตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบระหว่างงานออกแบบที่แกนนิ่ง และงานออกแบบที่แกนคอนเซ็ปท์ยังคงสามารถปรับกับไอเดียได้อยู่ตลอดเวลา

conceptที่แกนนิ่งแล้ว idea จะไม่สามราถเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้เช่นกล้องถ่ายรูป ถึงแม้ว่ากล้องถ่ายรูปจะมีเทคโนโลยี ระบบดิจิตอลเข้ามาเพิ่มฟํงก์ชั่นแต่รูปร่างของกล้องก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปส่วน concept ที่แกนไม่นิ่งนั้น idea ของงานประเภทนี้สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้อยู่ตลอดเวลา เช่น เครื่องเล่น mp3 เป็น idea ที่พัฒนามาจาก เครื่องเล่นซีดีแบบพกพา
กลุ่มคำถามเชิงวิเคราะห์ และสังเคราะห์

จงเลือกตอบคำถามเพียง ๓ ข้อจากกลุ่มคำถามต่อไปนี้คะแนนเต็มในหมวดคำถามนี้คือ ๕๐ คะแนน

คำถามข้อที่ ๒คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน

นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่กับคำพูดที่ว่า "จินตนาการที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น มาจากจินตนาการของคนเพียงกลุ่มเล็กๆที่มีอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ" โปรดแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ และสังเคราะห์

เห็นด้วยเพราะจินตนาการทำให้เกิดการผลักดันในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น และเมื่อเกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นแล้วก็ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อรองรับและสนับสนุนเพื่อให้เทคโนโลยีนั้นสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ถ้าหากจินตนาการนั้นเกิดจากกลุ่มที่ไม่มีอำนาจการต่อลองทางเศรษฐกิจเทคโนโลยีจะถูกจำกัดอยู่ภายใต้กลไกของเศรษฐกิจ

คำถามข้อที่ ๓คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน

การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์จากระบบแอนนาลอคมาสู่ระบบดิจิตอล มีข้อสังเกตุที่น่าสนใจอย่างไร? ตอบโดยใช้ฐานความรู้เรื่องคอนเซ็ปท์ และไอเดีย ที่ได้เรียนจากห้องเรียนมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันที่ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมีผลต่อการออกแบบเพื่อการสื่อสาร (Communication Design) อย่างไร ?

โทรศัพท์ระบบแอนนาลอคเป็นระบบที่ไม่มีการบันทึกข้อมูล ส่วนระบบดิจิตอลเป็นระบบที่มีการบันทึกข้อมูล การเปลี่ยนแปลงมีข้อสังเกตุที่น่าสนใจคือเมื่อเปลี่ยนจากระบบแอนนาลอคมาเป็นดิจิตอลทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้น
เเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันที่ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้การออกแบไม่ได้อยู่แค่บนหน้ากระดาษและการรับรู้ข้อมูลการสื่อสารของงานก็รวดเร็วขึ้น
คำถามข้อที่ ๔คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน

จงเปรียบเทียบระหว่างการพูดและการเขียน (Speech VS Writing) อธิบายด้วยความเข้าใจจากองค์ประกอบต่างๆที่ได้จากการเรียนใน
วิชานี้

การพูดเป็นการสือสารโดยตรงจากสมองสู่ปากโดยที่ไม่มีการผ่านกระบวนกาวิเคราะห์และสังเคราะห์ และการพูดเมื่อพูดจบแล้วไม่สามารถพูดซ้ำเหมือนเดิมได้อีก หรือถ้ามีการพูดซ้ำอีกความหมายอาจจะไม่เหมือนเดิม
ส่วนการเขียนเป็นการบันทึกอย่างหนึ่ง ซึ่งก่อนที่เราจะเขียนได้ก็จะมีการรับข้อมูลเข้ามผ่านกระบวน
การวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อเรียบเรียงกระบวนการคิดก่อนที่จะมีการบันทึกลงไป

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

The Story < the shining >



Director: stanley kubrick

Jack Torrance (Jack Nicholson), a beleaguered writer and recovering alcoholic, has just secured a seasonal position as the caretaker for the Overlook Hotel. Seems like a cake job. You get to spend all winter snowed (cooped up) in a big hotel with all the food, space, and fun you can enjoy. No guests to fool with (yeah right) and just a little up keep of the grounds and building. There will be plenty of time to work on your book and of course, slaughter your family.
So along with his wife Wendy (Shelley Duvall) and their boy Danny (Danny Lloyd), the Torrances head off to enjoy a little family bonding at the old Overlook Hotel. Oh...I forget to mention that Danny is bringing along his imaginary friend
Tony, the little boy who lives in the back of his mouth and helps him to see things that aren't suppose to be there. "The Shining" allows Danny to see the past, present, and future digressions of the Overlook. It's haunting existence becomes quite evident as he witnesses the death and destruction that has come to called this place home. An evil that is looking to add three new guest...permanently.
REDRUM REDRUM!!!!!



Slowly this evil begins to wear down Jack's defenses as the winter snow falls driving him to the brink of insanity. It is so easy to hit a man when he is down as Jack is re-introduced to an old, dear friend..... booze. When Wendy stumbles upon Jack's next bestseller, "All work and no play...." she know that it is time to get Danny the hell out of there. But it seems that the Hotel won't make that easy. Directed by the ghostly apparition of Grady, the former caretaker who chopped up his family, Jack heads out to correct his little problem. Here's Johnny!!!!! Axe blows and one liners fly as Jack chops his way towards the film's chilling conclusion. Will the Overlook be checking in three new guest or will the maze be the place for ultimate checkout??? Rent this classic.

การคิดแบบสร้างสรรค์ (creative thinking)

การคิดแบบสร้างสรรค์ (creative thinking)
หมายถึง การคิดแบบเชื่อมโยง (associative) คิดแบบยั่วยุ (provocative) ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เป็นการคิดที่ไม่ยึดติดกรอบของการคิดแบบเหตุและผล อันเป็นการคิดแบบเส้นตรง
การคิดเป็นเส้นตรง (linear thinking) เป็นการวิเคราะห์ เป็นการหาเหตุหาผล ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่เรียกกันว่าหลักตรรกะ

การคิดสร้างสรรค์ ชอบกระบวนการ (process) ขณะที่การคิดแบบเส้นตรงพยายามแต่จะให้ถึงเป้าหมายและหยุดกระบวนการ การคิดสร้างสรรค์พบว่าเป้าหมายมิได้อยู่ข้างหน้า แต่กำลังไปถึงทุกขณะที่กำลังก้าวไปสู่เป้าหมายนั้น ความเป็นจริงนั้นกำลังก่อตัวทุกขณะ

การคิดเป็นเส้นตรงมักจะมีเป้าหมายเดียวที่คัดเลือกแล้ว การคิดแบบสร้างสรรค์สร้างความคิดมากมายแล้วเอาไว้คัดเลือกทีหลัง การคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีทางเลือกมากมาย จำเป็นต้องใช้ปริมาณมากเพื่อให้สามารถเลือกสรรได้

ปกติเรามักจะถูกสอนให้คิดถึงเรื่องต่างๆ ต่อเมื่อเราได้พบคำตอบที่เกือบจะลงตัวแล้ว (กึ่งสำเร็จรูป ) เราทำการค้นหาต่อเพียงเพื่อให้ได้คำตอบที่เหมาะสม แล้วก็หยุดการค้นหา นี่คือการคิดแบบเส้นตรง
แต่ถ้าเราค้นหาไปเรื่อยๆ เราจะพบคำตอบมากมายที่อาจดีกว่าอีก ที่เราสามารถเลือกได้ดีกว่าด้วย นี่คือการคิดสร้างสรรค์ที่ชอบกระบวนการในการค้นหาทางออก มากกว่าการพบแค่ทางออกเดียวที่เหมาะสม เนื่องเพราะกระบวนการเป็นเรื่องสำคัญมากในการคิดสร้างสรรค์


บางครั้งก็มักเรียกกันว่า กระบวนการสร้างสรรค์ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า การคิดเส้นตรงนั้นไม่ดี เป็นการคิดที่ดีและจำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่ไม่เพียงพอและไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้เพื่อเสริมการคิดแบบเส้นตรง การคิดแบบตรรกะ แต่ต้องมีการฝึกฝน

การคิดสร้างสรรค์ส่งเสริมให้คนถามมากกว่าตอบ เพราะการถามเป็นการทำให้เกิดคำตอบมากมายหลากหลาย การคิดสร้างสรรค์ทำให้คนคิดมากกว่าจำ การคิดสร้างสรรค์ทำให้คนไม่แสวงหาแต่สูตรสำเร็จ แสวงหาแต่เทคนิควิธีการ แต่แสวงหาหลักการเพื่อให้วิธีการที่หลากหลาย

การคิดแบบหมวก 6 ใบ ( เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน )

หมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน
ประกอบด้วย
หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร
หมวกสีเหลือง หมายถึง การมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง
หมวกสีแดง หมายถึง อารมณ์ความรู้สึก
หมวกสีเขียว หมายถึง การคิดอย่างสร้างสรรค์
หมวกสีดำ หมายถึง การตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย
หมวกสีฟ้า หมายถึง การสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดหรือมองเห็นภาพรวมของ การคิด

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ข้อสอบเพื่อวัดกระบวนการการเรียนรู้และความเข้าใจ

ข้อสอบเพื่อวัดกระบวนการการเรียนรู้และความเข้าใจ
ข้อสอบนี้จะถูกปลดลงในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๐
เวลา ๐๑ :๐๐ นาฬิกา (หลังเที่ยงคืนวันเสาร์ที่ ๒๔)

CD 493 C Understanding Design & Concept
วิชาความเข้าใจในแกนความคิดและศิลปะการนำเสนอ

คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๐
อาจารย์ อนุทิน วงศ์สรรคกร

ข้อสอบแบบนำกลับไปทำที่บ้าน (Take Home Exam)
คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน

นักศึกษาสามารถเลือกตอบ จัดตั้งคะแนนเต็มของตนเองได้ เพื่อเป็นคะแนนสำรอง แต่คะแนนเต็มที่นักศึกษาได้จริงจะไม่เกิน ๑๐๐ คะแนน คะแนนจากการสอบครั้งนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๕๐ ของคะแนนรวมปลายภาค ซึ่งจะนำไปรวมกับคะแนนร้อยละ ๓๐ จากงานแบบร่างสถาปัตยกรรมทางความคิด และคะแนนร้อยละ ๒๐ จากการเข้าเรียนและจิตพิสัย
นักศึกษาจำเป็นต้องส่งแบบทดสอบนี้โดยโพสไว้ในเวปบล๊อคของตนเองภายในไม่เกินเที่ยงวันของวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ คำตอบจะถูกพิมพ์ออกมาเพื่อตรวจ การเปลี่ยนแปลงคำตอบโดยการอัพเดทเวปบล๊อคหลังจากเวลาดังกล่าวไม่มีผลต่อการแก้ไขคำตอบเดิม นักศึกษาต้องรับผิดชอบตนเองในการส่งลิ้งค์ไปสู่เวปบล๊อคของตนเองมาให้เพื่อการตรวจคะแนน จะไม่มีการสืบหาเวปบล๊อค
ของนักศึกษาเพื่อการตรวจคะแนน

หมายเหตุ / กรุณาตอบให้สั้นกระชับและได้ใจความ การตอบแบบปริมาณไม่มีส่วนในการได้รับคะแนนพิเศษกลุ่มคำถามเกี่ยวกับความเข้าใจ

จงเลือกตอบคำถามเพียง ๕ ข้อจากกลุ่มคำถามต่อไปนี้คะแนนเต็มในหมวดคำถามนี้คือ ๕๐ คะแนน

คำถามข้อที่ ๑ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
หากนักศึกษาจำเป็นที่จะต้องอธิบายให้กับบุคคลทั่วไปเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคอนเซ็ปท์และไอเดีย นักศึกษาจะมีวิธีการอย่างไรในการอธิบายอย่างกระชับและแยบยล เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ และถูกต้อง

คำถามข้อที่ ๒คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
จงอธิบายและให้คำจำกัดความของการเปลี่ยนแปลงสถานะของคอนเซ็ปท์ ยกตัวอย่างที่สามารถเสนอการนำไปใช้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม โดยใช้หลักการที่ได้เรียนรู้จากการบรรยายในวิชานี้ตอบคำถามอย่างเป็นเหตุและผล

คำถามข้อที่ ๓คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
ศิลปะและการออกแบบมีข้อแตกต่างกันอย่างไร จากเหตุผลส่วนตัวของนักศึกษา งานฝีมือนับว่าเป็นงานออกแบบได้หรือไม่

คำถามข้อที่ ๔คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
ไอคอน (Icon) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร กรุณาอธิบายให้ง่ายและกระชับสำหรับผู้ที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้มาก่อน

คำถามข้อที่ ๕คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
แรงบันดาลใจกับจินตนาการเกี่ยวข้องกันในลักษณะใด

คำถามข้อที่ ๖คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
จงอธิบายความหมายของ signify ให้สามารถเข้าใจได้ครอบคลุมในทั้งมิติของความหมายทางกายภาพของคำ และมิติของการบรรจุของแกนความคิด ควรยกตัวอย่างประกอบมากกว่าหนึ่งเพื่อความชัดเจนว่านักศึกษามีความเข้าใจที่ถูกต้อง

คำถามข้อที่ ๗คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
ในกรณีที่คอนเซ็ปท์ในงานออกแบบบางชิ้นเป็นแกนแข็งแรงและนิ่งอยู่แล้ว จะส่งผลอย่างไรกับไอเดีย ยกตัวอย่างประกอบเพื่อแสดงความเข้าใจ ต้องการตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบระหว่างงานออกแบบที่แกนนิ่ง และงานออกแบบที่แกนคอนเซ็ปท์ยังคงสามารถปรับกับไอเดียได้อยู่ตลอดเวลา

กลุ่มคำถามเชิงวิเคราะห์ และสังเคราะห์
จงเลือกตอบคำถามเพียง ๓ ข้อจากกลุ่มคำถามต่อไปนี้
คะแนนเต็มในหมวดคำถามนี้คือ ๕๐ คะแนน

คำถามข้อที่ ๑คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
จงอธิบายความแตกต่างระหว่างคอนเซ็ปท์ของตู้กับข้าวและตู้เย็น ทั้งสองอยู่บนคอนเซ็ปท์เดียวกันหรือไม่ หากนักศึกษาคิดว่าทั้งสองสิ่งอยู่บนคอนเซ็ปท์เดียวกัน กรุณาแจกแจงเหตุและผลอย่างเป็นขั้นตอน

คำถามข้อที่ ๒คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่กับคำพูดที่ว่า "จินตนาการที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น มาจากจินตนาการของคนเพียงกลุ่มเล็กๆที่มีอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ" โปรดแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ และสังเคราะห์

คำถามข้อที่ ๓คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
การเปลี่ยนแปลงของโทรศัพท์จากระบบแอนนาลอคมาสู่ระบบดิจิตอล มีข้อสังเกตุที่น่าสนใจอย่างไร? ตอบโดยใช้ฐานความรู้เรื่องคอนเซ็ปท์ และไอเดีย ที่ได้เรียนจากห้องเรียนมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันที่ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมีผลต่อการออกแบบเพื่อการสื่อสาร (Communication Design) อย่างไร ?

คำถามข้อที่ ๔คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
จงเปรียบเทียบระหว่างการพูดและการเขียน (Speech VS Writing) อธิบายด้วยความเข้าใจจากองค์ประกอบต่างๆที่ได้จากการเรียนในวิชานี้

คำถามข้อที่ ๕คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน
กรุณาแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสังเคราะห์ข้อมูลจากประสบการณ์ของคนทั่วไป เกี่ยวกับปุ่มกดเปิดเครื่องและปุ่มอื่นๆบนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่ นักศึกษาจำเป็นต้องมีข้อมูลจริงในการสนับสนุน เช่นการตั้งชุดคำถามต่อผู้ใช้ทั่วไปเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์และนำมาสู่การสังเคราะห์ กรุณาตอบให้สั้นกระชับได้ใจความ แนะนำว่าอาจตอบเป็นลักษณะของการเขียนเรียงความสั้นๆ

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

โฟม

"โฟม" คืออะไร "โฟม" เป็นคำที่รู้จักกันทั่วไปซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีความหมายกว้างมาก หากพิจารณาตามคำแปลหมายถึง "ฟู" โฟมในที่นี้หมายถึงพลาสติกที่ฟูหรือขยายตัว พลาสติกมากมายหลายประเภท และในบรรดาพลาสติกหลายประเภท ที่มีในโลกนั้น หากผ่านกระบวนการที่ใช้สารขยายตัว (Blowing Agent) ก็จะทำให้พลาสติกนั้นกลายเป็นโฟมได้ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Foam Plastic ตัวอย่างของโฟมพลาสติกที่รู้จักกันทั่วไป เช่น ฟองน้ำ กล่องโฟมใส่อาหาร โฟมแผ่น โฟมฉีดพ่นเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น ซึ่งโฟมพลาสติกเหล่านี้ล้วนแต่ผลิตจากพลาสติกแตกต่างประเภทกันไป
ในที่นี้จะหมายถึงโฟมที่ผลิตจากพลาสติกประเภท Polystyrene / PS เท่านั้น ซึ่งใช้ทำกล่องโฟมใส่อาหาร และ โฟมลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งโฟมพลาสติกประเภท Polystyrene / PS มี 2 ประเภทหลักคือ
1. Expandable Polystyrene / EPS ซึ่งใช้บรรจุสินค้ามีค่าต่างๆ เช่น โทรศัพท์ ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า และ หมวกกันน็อค โฟมกล่องน้ำแข็ง รวมถึงโฟมแผ่นและโฟมก้อนที่ใช้ทำถนนเป็นต้น
2. Polystyrene Paper / PSP ที่ใช้ทำถาดหรือกล่องโฟมบรรจุอาหาร
กระบวนการผลิตโฟมเป็นอย่างไร
1. Expandable Polystyrene / EPS คือโฟม PS ที่ใช้ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ ก๊าซหุงต้ม หรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent) ในระหว่างกระบวนการผลิตที่เรียกว่า Polymerization เนื้อพลาสติก PS จะทำปฎิกิริยา กักเก็บก๊าซ Pentane เอาไว้ภายใน เมื่อนำมาผลิตโฟม EPS วัตถุดิบจะขยายตัวเมื่อได้ความร้อนจากไอน้ำ (Steam) กลายเป็นเม็ดโฟมขาวๆ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูป (Molding) ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
- อัดขึ้นรูปเป็นรูปร่างต่างๆ ตามลักษณะแม่พิมพ์ที่ทำ (Shape Molding) เช่น เป็นกล่องน้ำแข็ง และบรรจุภัณฑ์ ต่างๆ
- อัดขึ้นรูปเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ( Block Molding) แล้วนำมาตัดตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ โดยทั่วไป โฟม EPS จะขยายตัวประมาณ 50เท่า และเมื่อขยายตัวแล้วจะมีอากาศเข้ามาแทนที่ถึง 98 % ของปริมาตร มีเพียง 2 % เท่านั้นที่เป็นเนื้อพลาสติก PS และนี่คือสาเหตุที่ทำให้โฟมมีขนาดใหญ่แต่กลับมีน้ำหนักเบา คุณลักษณะนี้เองที่ทำให้โฟม EPS สามารถรองรับแรงกระแทกได้อย่างดี เหมาะสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้า และยังรองรับการถ่ายเทน้ำหนักในแนวดิ่งโดยไม่เสียรูปทรง จึงสามารถใช้เป็นวัสดุในการทำถนน เพื่อแก้ปัญหาถนนทรุด และยังใช้เป็นฉนวนรักษาความร้อนและเย็น เนื่องจากอากาศที่มีอยู่ภายในถึง 98 % ทำหน้าที่เป็นฉนวนได้อย่างดี
2. Polystyrene Paper / PSP คือโฟม PS ที่ใช้ก๊าซหุงต้มหรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว วัตถุดิบที่ใช้ ก็คือเม็ดพลาสติก PS ทั่วไป ซึ่งเข้าสู่ระบบการฉีดโดยใช้สกรูซึ่งมีความร้อนจากไฟฟ้าเช่นเดียวกับ การฉีดพลาสติกทั่วไป
(Screw Extrusion) เมื่อเม็ดพลาสติก PS ผ่านสกรูความร้อนก็จะหลอมตัว ขณะที่จะออกจากปลายสกรูก็จะถูกฉีดก๊าซ Butane (C4H10) ซึ่งก็คือแก๊สหุงต้มที่ใช้ตามครัวเรือนผสมเข้าไปทำปฎิกิริยาให้พลาสติกที่กำลังหลอมนั้นเกิดการขยายตัวประมาณ 20 เท่า ฉีดออกเป็นแผ่นแล้วม้วนเข้าคล้ายม้วนกระดาษ (จึงเรียกว่า Polystyrene Paper / PSP) จากนั้นก็จะนำม้วนโฟม PSP ที่ได้ ไปขึ้นรูปด้วยความร้อนตามลักษณะแม่พิมพ์ (Thermal Forming) เช่นเป็นกล่องใส่อาหารหรือถาดเป็นต้น
ทำไมโฟม EPS ถึงไม่ใช้สาร CFCs
สำหรับโฟม EPS นั้นเนื่องจากสาร CFCs มีจุดระเหยต่ำจึงยากต่อการกักเก็บไว้ในเม็ดวัตถุดิบ โฟม EPS จึงไม่เคย ใช้สาร CFCs เลย ตั้งแต่บริษัท BASF ของเยอรมันคิดค้นโฟม EPS ขึ้นมาเมื่อราวปี ค.ศ. 1950 สำหรับโฟม PSP นั้น การใช้ สาร CFCs ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซหุงต้มทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงกว่า ผู้ผลิตจึงหลีกเลี่ยงไม่ใช้

อุตสาหกรรมโฟม PS ในมืองไทย
อุตสาหกรรมโฟม PS ในเมืองไทยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากการผลิตโฟม EPS ประเภทก้อนสี่เหลี่ยม (Block Molding) เพื่อใช้ทำผนังห้องเย็น (Cold Storage Panel) ต่อมาเมื่ออุตสาหกรรมในประเทศเริ่มเติบโตขึ้น การใช้โฟม EPS เพื่อบรรจุสินค้า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์เพื่อการส่งออกจึงเริ่มขึ้นในราวปี พ.ศ. 2520 ต่อมาได้มีการใช้โฟม EPS ในการก่อสร้างอาคาร คอสะพาน และถนนอีกด้วย ปัจจุบัน มีผู้ผลิตวัตถุดิบ EPS ในประเทศ 5 ราย และผู้ผลิตโฟม EPS ประมาณ 25 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีกำลังการผลิตโดยรวมประมาณ 2,800-3,000 ตันต่อเดือน
โฟม EPS ที่ผลิตส่วนใหญ่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิคส์เพื่อการส่งออกเป็นหลัก นอกจากนั้นกล่องโฟมที่ผลิตจากโฟม EPS ยังใช้สำหรับบรรจุอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อส่งออกเช่นกัน สำหรับโฟม PSP นั้น เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา มีผู้ผลิตวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก PS) ในประเทศ 5 ราย และ ผู้ผลิตโฟม PSP 10 ราย ซึ่งมีเพียงรายเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ กำลังการผลิตโดยรวมในปัจจุบันประมาณ 1,300-1,500 ตัน ต่อเดือน โฟม PSP จะผลิตเป็นถาดหรือกล่องสำหรับใส่อาหารเป็นหลัก ซึ่งมีสัดส่วนในการส่งออกประมาณ 30%

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ความคาดหวังก่อนเรียน cd 493

ก่อนที่จะเลือกเรียนวิชานี้ก็ได้ไปปรึกษากับอาจารย์ก่อนที่จะเลือกเรียน อาจารย์บอกมาว่าวิชานี้เป็นวิชาที่จะทำให้เราเข้าใจที่มาที่ไปของตัวงาน
รู้กระบวนการคิดผลงานต่างๆ ก็เลยตัดสินใจเลือกเรียนวิชานี้ เพราะปกติเวาลาเราคิดงานหรือเวาลาได้โจทย์งานมาก็จะคิดแบบด้านเดียวเราจะ
มองถึงภาพจบก่อนว่าเราอยากจะทำอะไรแล้วค่อยคิดกระบวนการทำงานเพื่อให้งานออกมาเป็นตามที่คิดไว้ในตอนแรก ทำให้งานที่ออกมาดูเบา
ไม่มีน้ำหนักเพราะข้อมูลน้อย บางครั้งก็ทำให้เนื้องานไม่สามารถตอบโจทย์ได้ดี
ก็คาดว่าเรียนวิชานี้แล้วจะทำให้รู้ถึงกระบวนการ ขั้นตอนการคิดงานเพื่อที่จะให้สร้างงานที่ดีได้ และวิชานี้น่าจะทำให้เรารู้จักหาข้อมูลต่างๆมองสิ่ง

ต่างๆรอบๆตัวเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการทำงานของเรา ทำให้มุมมองการทำงานของเรากว้างขึ้น การคิดงานง่ายขึ้น วิชานี้น่าจะทำให้เราเข้า
ใจในงานของศิลปินต่างๆที่ต้องการจะสื่อสารมากขึ้นไม่ใช่ว่าแค่ดูแล้วสวย และน่าจะทำให้เราสามารถสื่อสารตัวงานให้คนที่ไม่ได้เรียนทางออกแบบ
หรือคนทั่วๆไปเข้าใจในงานออกแบมากขึ้นด้วย